วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ARRAY

 - โครงสร้างข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

      - โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น (Linear Lists) มีรูปแบบเป็นรายการต่อเนื่อง ข้อมูลที่จัดเก็บจะมีลักษณะเป็นแถวลำดับต่อเนื่อง เช่น อาร์เรย์(Array) สแต็ก(Stacks) และคิว(Queues) เป็นต้น
      - โครงสร้างข้อมูลแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non-Linear Lists) โครงสร้างข้อมูลชนิดนี้จะต้องข้ามกับแบบแรก เช่น ทรี(Trees) และกราฟ(Graphs) เป็นต้น  

-โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์(Array) 
        - อาร์เรย์ คือ การรวมกลุ่มของตัวแปรที่สามารถใช้ตัวแปรชื่อเดียวแทนข้อมูลสมาชิกได้หลายๆ ตัวด้วยการใช้ดรรชนี(Index) หรือซับสคริปต์(Subscript) เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่ง

- คุณสมบัติสำคัญของอาร์เรย์

      - อาร์เรย์เป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันเช่น 12 เดือน ซึ่งประกอบด้วยเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ราคาหุ้นในรอบ 30 วัน เป็นต้น
      -  มีชนิดข้อมูลเหมือนกันทั้งหมด เช่น ชนิดข้อมูลของตัวแปร
      -  อาร์เรย์มีขนาดคงที่
      -  ผู้ใช้สามารถอ้างอิงเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ทันที

- การอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกในอาร์เรย์ 
     - ต้องเริ่มต้นด้วยชื่ออาร์เรย์และตามด้วยเลขลำดับกำกับไว้ด้วย
     - เลขลำดับ สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ซัขสคริปต์ หรือเลขดัชนี
     - เลขดัชนีอยู่ภายในเครื่อง ( ) หรือ [ ] ก็ได้ ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษา

- ขอบเขตของอาร์เรย์ (Bounds)
     - เลขดัชนี ในอาร์เรย์ประกอบด้วยช่วงขอบเขตของค่า ซึ่งประกแบด้วยขอบเขตล่างสุด และขอบเขตบนสุด
- การคำนวณจำนวนสามาชิกของอาร์เรย์ 1 มิติ

     - จำนวนสมาชิก  = U + L + 1

- การคำนวณจำนวนสามาชิกของอาร์เรย์ 2 มิติ

     - จำนวนสมาชิก = (U1 – L1 + 1) x (U2 – L2 + 1)

- การคำนวณจำนวนสามาชิกของอาร์เรย์ 3 มิติ

     - จำนวนสมาชิก = (U1 – L1 + 1) x (U2 – L2 + 1) x (U3 – L3 + 1)

 -การจัดเก็บอาร์เรย์ในหน่วยความจำ

     - อาร์เลย์จัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นลำดับต่อเนื่องกัน
     - ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลสมาชิกของแต่ลัตัวในขนาดเท่าๆกัน
     - สมาชิกในอาร์เลย์ทุกตัวต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน

- อาร์เรย์ 1 มิติ  รูปแบบโครงสร้างข้อมูลอาร์เรย์ 1 มิติ คือ

     - ArrayName [ L : U ]  

-สูตรการคำนวณเพื่อค้นหาตำแหน่งแอดแดรสในหน่วยความจำของอาร์เรย์ 1 มิติ 

     - LOC(a[ i ])  = B + W(i + L)

 อาร์เรย์ 2 มิติ รูปแบบโครงสร้างข้อมูลอาร์เรย์ 2 มิติ คือ 

     - ArrayName [ L1 : U1, L2 : U2 ] 

- สูตรการคำนวณเพื่อค้นหาตำแหน่งแอดแดรสในหน่วยความจำของอาร์เรย์ 2 มิติ  

     - รูปแบบการเรียงแถวเป็นหลัก

     -  LOC(K[ i,j ] ) = B + W[C(i – L1) + (j – L2) ]

โดยที่ R คือจำนวนคอลัมน์ของแถวลำดับ (R x C)

     - รูปแบบการเรียงคอลัมน์เป็นหลัก

     - LOC(K[ i,j ] ) = B + W[R(j – L2)]+ (i – L1) ]

โดยที่ R คือจำนวนแถวของแถวลำดับ (R x C)

อาร์เรย์ 3 มิติ รูปแบบโครงสร้างข้อมูลอาร์เรย์ 3 มิติ คือ 

     - ArrayName [ L1 : U1, L2 : U2, L3 : U3 ]  

- สูตรการคำนวณเพื่อค้นหาตำแหน่งแอดแดรสในหน่วยความจำของอาร์เรย์ 3 มิติ  

      - รูปแบบการเรียงแถวเป็นหลัก

      - LOC(S[ i,j,k ]  = B + [W x R x C(i – L1)]
                            + [W x C(j – L2)]
                            + [W(k - L3)] 

     - รูปแบบการเรียงคอลัมน์เป็นหลัก

     - LOC(S[ i,j,k ]  = B + [W x K x R x C(j – L2)]
                            + [W x K x R(i– L1)]
                            + [k - L3]  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น